สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 กุมภาพันธ์ 2562

 

ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,592 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,413 บาท
 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,645 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,642  บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,541 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,750 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,533 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,844 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0986
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
            เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะอยู่ในช่วงวันหยุดเทศกาล Tet (the Lunar New Year Holiday) ขณะที่วงการค้าข้าวคาดว่า ภาวะการค้าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูใหม่จะออกสู่ตลาดปริมาณมาก
          ในปี 2561 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.15 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3.15 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการส่งออกข้าวของเวียดนาม
มีพันธุ์ข้าวใหม่ๆ มากขึ้น เช่น ข้าวสายพันธุ์ Loc Troi 28 ซึ่งเป็นข้าวที่มีระยะเพาะปลูกสั้น ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้จาก
การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ Loc Troi 1 และข้าวบาสมาติของอินเดีย ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
เป็นข้าวหอมและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งนาย Huynh Van Thon ผู้บริหารของ บริษัท
Loc Troi corp., ระบุว่า ข้าวสายพันธุ์นี้เหนือกว่าข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวหอมพันธุ์ Sen Kro Ob (SKO) ของกัมพูชา
          ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนามได้หันมาปลูกข้าวที่มีคุณภาพมากขึ้น และมากกว่าการให้ความสำคัญเรื่องปริมาณ
ที่ผลิตได้ ซึ่งจะเห็นได้จากในช่วงปีที่ผ่านมาราคาข้าวขาวของเวียดนามอยู่ในระดับที่สูงกว่าข้าวไทยค่อนข้างมาก และในช่วงไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมข้าวเวียดนามได้ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดมากขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ข้าวของเวียดนามที่จะใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้าวเวียดนามในตลาดโลก
          ผู้แทนหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม (The Agro Processing and Market Development Authority) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท้องถิ่นเวียดนามว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2562 ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจำนวนมาก และคาดว่าความต้องการข้าวของทั้งสองประเทศจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับฟิลิปปินส์มีการยกเลิกนโยบายจำกัดการนำเข้าข้าว ซึ่งขณะนี้ผู้นำเข้าข้าวในฟิลิปปินส์ประมาณ 180 บริษัท ได้ยื่นขอนำเข้าข้าวปริมาณรวม 1.2 ล้านตัน โดยสั่งซื้อข้าวจากเวียดนามเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ได้ออกนโยบายใหม่
ซึ่งจะเก็บภาษีการนำเข้าข้าว และข้าวที่นำเข้ามาจากกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียนจะมีภาษีนำเข้า 35% และนำเข้าข้าวจากประเทศอื่นๆ จะมีภาษีนำเข้า 50%
          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ส่งออกเวียดนามจะสามารถส่งข้าวไปฟิลิปปินส์ได้ง่ายขึ้น แต่ยังคงจะต้องแข่งขันกับ
ผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น กัมพูชา เมียนมาร์ และไทย นอกจากนี้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคจากจีน
ซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม เนื่องจากจีนได้ปรับนโยบายด้านการค้าชายแดนและข้ามแดน รวมทั้งมีการลงทุนผลิตข้าวในกัมพูชา เมียนมาร์ และไทยเพิ่มขึ้น
          ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          จีน
          ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) รายงานว่า ในการประมูลขายข้าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา ไม่สามารถขายข้าวได้เลยจากที่นำข้าวออกมาประมูลจำนวน 503,962 ตัน
          เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัท Sinograin ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ
ที่ดำเนินการเก็บสต็อกข้าวและธัญพืชของรัฐบาลได้มีการระบายข้าวจากสต็อกที่เก็บไว้ออกสู่ตลาด ประมาณ 17 ล้านตัน ขณะที่การระบายสต็อกธัญพืชทุกชนิด พืชน้ำมัน (edible oils) และฝ้าย จากคลังที่มีกว่า 7,000 แห่ง มีจำนวนรวมประมาณ 132.73 ล้านตัน ซึ่งธัญพืชอื่นๆ นอกจากข้าว ประกอบด้วย ข้าวโพดประมาณ 100.1 ล้านตัน ข้าวสาลีประมาณ 10.7 ล้านตัน ถั่วเหลืองประมาณ 2 ล้านตัน ฝ้ายประมาณ 2.5 ล้านตัน และน้ำมันเรพสีด (rapeseed oil) หรือน้ำมัน
คาโนลา ประมาณ 420,000 ตัน
          ทั้งนี้ ในปี 2561 บริษัท Sinograin มีการเก็บสต็อกธัญพืชประมาณ 26.6 ล้านตัน โดยบริษัทมีโครงการในการเก็บสต็อกข้าวและข้าวสาลีขณะเดียวกันก็พยายามที่จะระบายสต็อกธัญพืชชนิดอื่นๆ ออกมา
          ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.12
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,897 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 322.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,993 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 96 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 375.64 เซนต์ (4,599 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 378.88 เซนต์ (4,629 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 30 บาท

 
 


มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.48 ล้านตัน (ร้อยละ 24.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นมันเส้นแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.20 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 6.80 
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.40 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.04
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.01 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 205 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,362 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (6,402 บาทต่อตัน)  
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,058 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (14,146 บาทต่อตัน)

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.572 ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.283 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.520 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน ของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 3.42 และร้อยละ 3.29 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.62 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.58 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนเมษายน 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,267 ริงกิตต่อตัน (557.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียลดลง ร้อยละ 15 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และจากการสำรวจในช่วง 10 วันแรกของเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่แรกความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบจะมีแนวโน้มลดลงตามฤดูกาล รวมทั้งราคาน้ำมันปาล์มดิบได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองที่ต้องแข่งขันส่วนแบ่งตลาดน้ำมันพืชของโลก และคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,285 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,222.99 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.37 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,213.70 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.42  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.73 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 543.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.59    
หมายเหตุ: ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 64,366,074 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 6,624,271 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 5,296,459 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 1,327,812 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.91 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต   น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 102.92 กก.ต่อตันอ้อย
          คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2561/2562 ในอัตรา 700 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. โดยกำหนดราคาขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 42.00 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ต่อเมตริกตัน และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2561/2562 เท่ากับ 300.00 บาทต่อตันอ้อย
          คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 เห็นชอบโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ในอัตรา 50 บาทต่อตันอ้อย (รายละไม่เกิน 5,000 ตันอ้อย) โดยขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2562
          คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 เห็นชอบโครงการจัดสรรเงินรายได้ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายให้แก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2561/2562 ในอัตรา 53 บาทต่อตันอ้อย                          
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 
 

 
ถั่วเหลือง
 
 

 
ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
 


 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.39
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 899.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 900.67 ดอลลาร์สหรัฐ (28.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 802.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 803.67 ดอลลาร์สหรัฐ (25.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 834.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 836.33 ดอลลาร์สหรัฐ (26.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 479.67 ดอลลาร์สหรัฐ (14.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 925.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.77 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 926.67 ดอลลาร์สหรัฐ (28.84 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.07
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 19.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 

 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.97 เซนต์(กิโลกรัมละ 49.32 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 73.25 เซนต์ (กิโลกรัมละ 50.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.11และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.48 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,564 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,557 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.45
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,332 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,275 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 4.47
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
 

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกรยังคงคึกคัก ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีมากขึ้นเพราะเพิ่งผ่านเทศกาลวันตรุษจีน ขณะที่ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.70 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.04 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50  บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ      ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา     โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.96 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.63 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 286 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ281 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ  291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 3.44    

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  328 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 351 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 303 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.75บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 84.46 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.90 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ระหว่างวันที่ 8 – 14 กุมภาพันธ์  2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ173.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 174.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
 2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 167.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 27.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคา    ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.45 บาท ราคา  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท